การรับประทานคีโตเจนิกที่ถูกต้อง
การรับประทานคีโตเจนิกเป็นหนี่งทางเลือกในการลดน้ำหนัก ที่มีความเคร่งเครีดน้อย ไม่จำเป็นต้องกินผักสดหรือไข่ต้มทุกมื้อเหมือนกับการรับประทานอาหารคลีน จึงทำให้การทานคีโตเจนิกกลายเป็นที่นิยมเพราะนอกจากการรับประทานที่ยังได้รสชาติอาหารและเนื้อสัตว์เต็มที่ ยังได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วอีกด้วย แต่ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจการรับประทานคีโตเจนิกที่ถูกต้อง
หลักการของการทานคีโตเจนิกคือการควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายได้มีกลไลการสลายไขมันเพื่อปรับสัดส่วนรูปร่างและการลดน้ำหนัก ด้วยการรับประทานอาหารที่ไขมันและโปรตีนสูงเพื่อให้ร่างกายได้สร้างสารคีโตนเพื่อช่วยในการสลายไขมัน และงดการประรับทานคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลที่เข้ามาเป็นตัวขัดขวางการสร้างสารคีโตนที่จะทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ในการลดน้ำหนักที่ต้องการ
การรับประทานคีโตเจนิกที่ถูกต้องคือต้องเลือกรับประทานไขมัน จริงอยู่ว่าการทานอาหารคีโตต้องเน้นไขมันจำนวนมาก แต่ก็ต้องเลือกรับประทานเฉพาะไขมันดีที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เป็นไขมันดีชนิด HDL ที่จะไม่สะสมในร่างกาย แต่จะเป็นไขมันที่ช่วยป้องกันในการโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและสมองได้ ไขมันดี HDL จะสามารถเลือกได้จาก น้ำมันหมู น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน อะโวคาโดเป็นต้น นอกจากต้องเลือกประเภทไขมันแล้ว ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่พอดีกับร่างกายไม่มาจนเกินไป
การรับประทานผักและผลไม้ของการทานอาหารคีโต จะต้องเลือกผลไม้ที่ไม่น้ำตาลน้อย อาทิเช่น สตอว์เบอรี่ แตงโม เชอร์รี่เป็นต้น เพราะผลไม้ชนิดอื่น ๆ จะมีน้ำตาลสูงมาก ทำให้การรับประทานคีโตไม่สามารถเช่นการทานผลไม้ได้ สำหรับผักก็เช่นกัน เพราะในผักจะมีทั้งคาร์โบไอเดรตและน้ำตาลอยู่ จึงเลือกต้องผักที่เป็นผักใบเขียวที่มีไฟเบอร์สูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ อาทิเช่นผักคะน้า ผักกาดหอม ผักเรดโอ๊ค กรีนโอ๊ค บล็อกโรลี่ ต่างเป็นผักที่ให้คาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่มีไฟเบอร์สูงช่วยเรื่องของการย่อยอาหารได้ นอกจากนี้ผักหรือพืชที่ควรหลีกเลี่ยง พวกพืชชนิดหัวใต้ดิน มันฝรั่ง มันหวาน มันม่วง บีทรูท ฝักทอง เผือก แม้จะเป็นพืชที่ให้พลังงานต่ำ อิ่มท้องได้ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารคีโตเพราะมีคาร์โบไฮเดรตสูงมาก
การเลือกรับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ก็ต้องเลือกชนิดของสารให้ความหวานที่ไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกายหรือไม่เป็นตัวขัดขวางการเกิดสารคีโตนได้ สำหรับสารให้ความหวานที่รับประทานได้ได้แก่ หญ้าหวาน Stevia, Erythritol, inulin และหล่อฮังก้วย เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีผลต่อร่างกาย สามารถรับประทานได้แต่ก็ต้องควบคุมปริมาณ ฉะนั้นน้ำหวาน น้ำอัดลม จำพวกที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ไม่มีแคลลอรี่ก็จะไม่สามารถดื่มได้ เพราะเป็นสารให้ความหวานชนิดที่ร่างกายยังดูดซึมความหวานไปได้ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารคีโต
การรับประทานคีโตเจนิกที่ถูกต้อง