อาหารสำหรับคีโตเจนิค

 

 

            สำหรับผู้ที่เริ่มต้นในการลดน้ำหนักด้วยวิธีคีโตเจนิก คงกำลังลังเลและสงสัยกับประเภทของอาหารที่รับประทานได้หรือไม่ได้ อาหารแบบใดที่ควรหรือไม่ควร เพราะการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ เป็นอักหนึ่งวิธีการลดน้ำหนักที่ใช้การปรับการรับประทานเป็นหลัก เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพตามอาหารที่รับประทานเข้าไปและเลือกใช้ไขมันในการสลายไขมัน แต่ก็ไม่ใช่ไขมันทุกอย่างที่ทานได้

            อาจจะเคยได้ยินกันมาว่าอาหารคีโตคือการรับประทาน ไขมันเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 70% ของอาหารต่อวัน แต่ไม่ใช่การรับประทานอาหารไขมันสูงแบบใดก็ได้ จะต้องเลือกอาหารคีโตในกลุ่มของไขมันที่เป็นไขมันดีชนิด HDL ที่มีความหนาแน่นมาก เป็นไขมันที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ การเพิ่มไขมันดีชนิด HDL ให้ร่างกายนอกจากการออกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง แล้วอาหารสำหรับคีโตเจนิกก็เป็นสิ่งสำคัญ และในการทานคีโตเจนิกก็มีเงื่อนไขของการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ดังนั้นการเลือกประเภทอาหารตจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

 

 

            ไขมันดี HDL จะอยู่ในน้ำมันหมู ซึ่งเป็นอาหารไขมันประเภทไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ที่นอกจากเป็นไขมันดีที่ดีต่อหลอดเลือดและหัวใจแล้วยังเป็นไขมันชนิดที่จะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน และมีคุณค่าทางอาหารสูงมากกว่าน้ำมันพืช ซึ่งผู้รับประทานคีโตเจนิกสามารถรับประทานได้และยังเป็นตัวประกอบหลักที่ก่อให้เกิดสารคีโตนที่จะสลายไขมันในร่างกายได้อีกด้วย

            น้ำมันเมล็ดฟักทอง น้ำมันมะกอกก็เป็นอีกทางเลือกของอาหารคีโต ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารต่าง ๆ สำหรับคีโตเจนิกได้ แต่ราคาจะถูกกว่าและหาซื้อได้ยากกว่าน้ำมันหมู  อีกทั้งการนำน้ำเหล่านี้มาผ่านความร้อน สารอาหารและประโยชน์ก็ไม่ได้เท่ากับน้ำมันหมูเช่นกัน

 

อาหารสำหรับคีโตเจนิค

 

              อัลมอนด์ อีกหนึ่งอาหารสำหรับคีโตเจนิก ที่มีไขมันดีสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำ ซึ่งก็เป็นอาหารคีโตยอดนิยมเพราะเมล็ดอัลมอนด์ สามารถเป็นของว่างสำหรับคีโตเจนิกได้ และสามารถนำมาสกัดเป็นนมอัลมอนต์เพื่อดื่มแทนนมวัวได้ ปัจจุบันมีนมอัลมอนด์จำหน่ายตามท้องตลาดมากขึ้น แต่การดื่มนมอัลมอนด์จะต้องไม่ผสมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานที่มีแคลลอรี่ด้วย

            ปลาแซลมอน เป็นอาหารประเภทโปรตีนที่มีไขมันดีสูง เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ดีต่อร่างกาย นอกจากช่วยเพิ่มปริมาณตัวกระตุ้นสารคีโตนเพื่อสลายไขมันแล้ว ปลาแซลมอนหรือปลาทะเลน้ำลึกชนิดอื่น ๆ ยังเป็นอาหารที่บำรุงร่างกายได้ ลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้ เป็นไขมันดีที่ร่างกายต้องการประมาณ 20% ของไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายทั้งหมดต่อวัน

            นอกจากนี้อาหารสำหรับคีโตเจนิกยังมีทางเลือกอื่น ๆ อีกมากมายที่นำมาปรุงเป็นเมนูอาหารคีโตที่สามารถเริ่มต้นทำเองได้บาง อาทิเช่น หมูสามชั้น เบคอน นม เนย ชีส (ที่ไม่มีส่วนผสมของมาการีน) โดยไม่ต้องเลือกแบบ Low-fat ก็สามารถรับประทานได้ แต่ก็ต้องจำกัดจำนวนไม่ให้สูงมากเกินไปจนเกินความต้องการของร่างกาย

           

อาหารสำหรับคีโตเจนิค