ใช้เวลานานแค่ไหนในการเข้าสู่คีโตซีส
การทานอาหารคีโตเจนิคเป็นหนึ่งในลดความอ้วน ประเภทอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเป็นการทำให้ร่างกายเปลี่ยนแหล่งพลังงานหลัก จากน้ำตาลกลูโคสไปเป็นคีโตซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นโดยการสลายไขมันไปทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานเทนทางเลือก
อาหารคีโตเจนิคไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณลดน้ำหนัก แต่ยังเชื่อมโยงกับประโยชน์หลายอย่าง เช่น เพิ่มระดับ HDL (ดี) คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดลดลง อินซูลิน รวมไปถึงระดับไตรกลีเซอไรด์
อย่างไรก็ตาม มีหลายคนพบว่าต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่นกว่าจะเข้าสู่สภาวะคีโตซี ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนพยายามเพื่อเข้าสู่ภาวะคีโตซีสตั้งแต่เริ่มต้น
แล้วจริง ๆ ต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการเข้าสู่คีโตซีส
การจะได้ประโยชน์จากอาหารคีโตร่างกายของคนเราต้องเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่าคีโตซีสก่อน!เพื่อเปลี่ยนสถานะการเผาผลาญที่เปลี่ยนไปของร่างกาย จากไขมันเป็นโมเลกุลที่เรียกว่าคีโตน ซึ่งจะใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักเมื่อน้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งมีน้อยลงวิธีที่ดีที่ดีในการเข้าสู่คีโตซีสคือการลดทานคาร์โบไฮเดรตลงให้มากที่สุด เพราะในร่างกายของคนเรา คาร์โบไฮเดรตจะถูกแปรสภาพเป็นน้ำตาล เช่น กลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากร่างกายของมีกลูโคสมากเกินมากความจำเป็น มันก็จะกักเก็บสะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อของคุณในรูปแบบของไกลโคเจน
ดังนั้นการทานคาร์โบไฮเดรตต้องไม่เกิน 50 กรัมต่อวัน ร่างกายจึงถูกบังคับให้ต้องใช้ไกลโคเจนที่สะสมไว้เพื่อเป็นพลังงาน และในที่สุดจึงเปลี่ยนไปใช้คีโตนเป็นพลังงาน
เวลาในการเข้าสู่คีโตซีสของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-4 วันถ้ากินคาร์โบไฮเดรต 20-50 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจพบว่าต้องใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์หรือนานกว่านั้นกว่านั้น
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อระยะเวลาในการเข้าสู่คีโตซีส ได้แก่ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ทานในแต่ละวัน การทานไขมัน และโปรตีนในแต่ละวัน การออกกำลังกาย อายุ และการเผาผลาญของร่างกาย
ตัวอย่างเช่น คนที่รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตสูงเป็นประจำ การเข้าสู่คีโตซีสนานกว่าผู้ที่รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำถึงปานกลาง นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายต้องการทำให้มีระดับไกลโคเจนสะสมในระดับที่เหมาะสมก่อนที่จะเข้าสู่คีโตซีส
สรุป
โดยปกติจะใช้เวลา 2-4 วันในการเข้าสู่คีโตซีสหากกินคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า 50 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจใช้เวลานานขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับการออกกำลังกาย อายุ เมตาบอลิซึม และปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
ใช้เวลานานแค่ไหนในการเข้าสู่คีโตซีส